คำตอบ : จากงานวิจัยพบดร.ออตโต้ วอร์เบิร์ก นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ที่ค้นพบว่ามะเร็งชอบโต้ในภาวะที่เป็นกรด ต่อมาความรู้นี้จึงทำให้เรารู้อีกว่าอาหารของมะเร็งคือกระบวนการย่อยสลายกลูโคสที่ได้จากแป้งและน้ำตาล และกระบวนการย่อยสลายกลูตามีนซึ่งได้จากกรดอะมิโนของโปรตีน
ส่วนไขมันนั้นได้มีงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ก้อนมะเร็งจะโตขึ้นเมื่อได้รับไขมันที่ไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย) ส่วนก้อนมะเร็งจะโตน้อยในน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งน้อยๆเช่น น้ำมันมะกอก ส่วนก้อนมะเร็งจะไม่มีการเจริญเติบโตหากได้ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าว
สำหรับเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจน ด็อกเตอร์ลีโอนาร์ด โคเฮน (Leonard A. Cohen) ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ในการเขียนในวารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติฉบับเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2543 ว่าได้เคยทำการทดลองร่วมกับนักวิจัยอีกท่านหนึ่งในปี พ.ศ. 2524 พบว่าแม้กระทั่งทำการทดลองหนูที่ถูกกระตุ้นทำให้เป็นมะเร็งมดลูกจนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนให้ไหลเวียนได้แล้ว แต่หากเลี้ยงด้วย “ไขมันที่ไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง” (เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย ฯลฯ) ก็ยังทำให้มะเร็งมีการเจริญเติบโตขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้นไขมันจึงน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน
ส่วนสำหรับผู้หญิงที่ห่วงเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ต้องเรียนให้ทราบว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ใช่ได้มีฮอร์โมนเอสโตรเจน เพียงแต่น้ำมันมะพร้าวช่วยกระตุ้นการเผาผลาญที่ทำให้ร่างกายนำคอเลสเตอรอลมาสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศได้มากขึ้นโดยองค์รวม ไม่ได้จำเพาะว่าเป็นฮอร์โมนชนิดใด ดังนั้นถ้าห่วงเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจนเกินจะต้องปรับลดระดับแหล่งอาหารที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (เช่น ไข่ นม เนื้อสัตว์ ยาแก้สิว ยาคุม ยาฮอร์โมนวัยทอง ถั่วเหลือง ฯลฯ) และเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสตาโรนเพิ่มขึ้นจากแหล่งอาหารอาหารน่าจะถูกต้องมากกว่า (เช่น ลด/งดแป้งและน้ำตาล (หวานทุกชนิด) และเพิ่มการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เมล็ดฟักทอง ฟักทอง ผักโขม งาดำ กล้วย มั่นฝรั่ง ฯลฯ) เพียงควบคุมอาหารเท่านี้แม้แต่คนที่มีซิสต์หรือปวดประจำเดือนมากก็จะมีอาการลดลง